10 กลยุทธ์เสริมสร้างภาวะผู้นำเพื่อให้ลูกน้องเชื่อชอบและทำตาม

หากพูดถึง “ภาวะผู้นำ” ในมุมมองของผมนั้น จากการที่ได้มีโอกาสไปบรรยายหลักสูตร หัวหน้างานบ่อย ๆ

จากการศึกษาตำราหลาย ๆ เล่ม และการแสดงบทบาทผู้นำในฐานะเจ้าขององค์กรซึ่งต้องมีผู้ตามที่ต้องดูแล

ทำให้ผมเข้าใจว่า ภาวะผู้นำ คือ คนที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวของการทำงาน วิธีการทำงาน ขั้นตอนการทำงาน

ให้ผู้ตามได้รับรู้ร่วมกัน รู้จักชื่นชมให้กำลังใจผู้ตามในยามที่ทำงานได้ดี รู้จักบอก สอนในสิ่งที่ผู้ตามทำผิดพลาด

และเป็นแบบอย่างที่ดีให้ผู้ตามได้เห็นในการทำงานร่วมกัน  ซึ่งบทบาทของการเป็นผู้นำ นับว่ามีความสำคัญ

ในการขับเคลื่อนองค์กร แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะหากมีแต่ผู้นำ แต่ขาดผู้ตามที่ดี องค์กรนั้นก็คงยากจะเติบโต

หรือหากเติบโตก็คงไปได้ช้า ซึ่ง องค์ประกอบของการทำงานร่วมกัน หรือ ทีม ย่อมต้องมี

  • ผู้นำ ที่มีภาวะผู้นำ
  • ผู้ตามที่มีความรับผิดชอบ มีแนวคิดเป็นบวกมากกว่าลบ
  • มีเป้าหมายเดียวกันบนพื้นฐานความคิดที่แตกต่างกัน
  • มีบรรยากาศของการทำงานเป็นทีมร่วมกัน

ซึ่งหากมีครบทั้ง 4 ข้อย่อมเป็นเรื่องที่ดีในการขับเคลื่อนงานไปด้วยกัน เพราะหากงานดี คนทำงานมีความสุข

มีแรงจูงใจที่ดีในการขับเคลื่อน องค์กรย่อมมีโอกาสเติบโต และเมื่อองค์กรเติบโตคนทำงานย่อมมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ขึ้นครับ ทุกอย่างเป็นวงจรที่จะขาดข้อหนึ่งข้อใดไปไม่ได้ครับ

บทความนี้ ผมขอพูดในมุมของผู้นำที่มีภาวะผู้นำ ในการสร้างแรงจูงใจต่อลูกน้อง ซึ่งผมแบ่งออกมาเป็น

10 กลยุทธ์ เพื่อให้ลูกน้องเชื่อชอบทำตาม ดังต่อไปนี้

 

1.มีภาวะผู้นำใช้ใจก่อนอำนาจที่มี

คิดง่าย ๆ ครับ เราอยากได้สิ่งใด ก็ควรให้สิ่งนั้นก่อนผู้อื่นเสมอ คนที่เป็นผู้นำที่ดีต้องรู้จักใช้อำนาจในทางที่ดี

มากกว่าใช้อำนาจในทางที่ไม่ได้ ทำให้คนอื่นเสียหาย เสียหน้า เสียใจ เสียความรู้สึกจากสิ่งที่ผู้นำกระทำ

ทว่า หากใช้ใจนำ เป็นกันเองต่อคนรอบข้าง แต่ก็พร้อมจริงจังกับการทำงานเมื่อถึงเวลาทำงาน

ใครทำดี ก็ชื่นชม ใครทำผิดก็ไม่นิ่งเฉยปล่อยวาง แต่รู้จักใช้คำพูดในเชิงบวก เปิดใจรับฟังข้อคิดเห็นของลูกน้อง

นั่นล่ะครับ ผู้นำที่มีภาวะผู้นำ

 

2.มอบหมายงานด้วยคำพูดที่สุภาพ

การมอบหมายงานนั้นมี 2 แบบ คือ ผ่านทางคำพูด และผ่านทางลายลักษณ์อักษร ซึ่งทั้ง 2 แบบนี้ควรทำไป

ด้วยกัน โดยเฉพาะคำพูดที่ผู้นำต้องรู้จักมีสติในการมอบหมายงาน ใช้คำพูดในเชิงที่สร้างสรรค์ มีคำอธิบายที่

ชัดเจน และรู้จักยิ้มแย้มแจ่มใส ถึงแม้สิ่งที่เจอจะมีแต่ปัญหาให้ขบคิด แต่เมื่อมีสติ ทางสว่างย่อมรออยู่ข้างหน้าครับ

 

3.พร้อมให้เกียรติลูกน้องอยู่เสมอ

การเป็นผู้นำ ไม่จำเป็นต้องเล่นอยู่ข้างหน้าเสมอไป ทว่าควรผลักดันให้ลูกน้องมีโอกาสเติบโตในการทำงาน

โดยผู้นำ ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียง เป็นเบื้องหลังในการทำงานก็ย่อมได้ ซึ่งการเป็นเบื้องหลังจะทำให้เห็น

การทำงานในภาพรวมมากกว่าเล่นอยู่ข้างหน้า ซึ่งหากมอบหมายให้ลูกน้องได้พัฒนาการทำงานอยู่บ่อย ๆ

ผู้นำก็จะมีขุนพลไว้คอยทำงานต่าง ๆ ได้มากขึ้นครับ

 

4.ผิดรู้จักยอมรับและขอโทษเป็น

การทำงานในแต่ละวัน ย่อมมีโอกาสตัดสินใจผิดพลาด และหากความผิดพลาดนั้นเกิดจากผู้นำ ควรกล้ายอมรับ

และขอโทษคงไม่ใช่เรื่องแปลกครับ ดีกว่าฝืนดันทุรัง ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าผิด การขอโทษเป็นสิ่งที่อย่างน้อยทำให้ลูกน้องเห็น

ว่า ถึงแม้จะเป็นผู้นำ ก็รู้จักพูดขอโทษเป็น และใช้บทเรียนแห่งความผิดพลาดนั้นเป็นเครื่องเตือนสติในการลงมือทำในครั้งต่อไปครับ

 

5.รู้จักใช้คนให้เหมาะสมกับงานที่ทำ

การเลือกใช้ลูกน้องให้เหมาะกับงานที่ทำ ถือว่าเป็นการสร้างแรงจูงใจที่ทำให้ลูกน้องมีความสุขกับงานที่ต้องทำใน

แต่ละวัน ซึ่งความสุขผมเชื่อว่ามีความสำคัญมาก ๆ ครับ เพราะหากมีความสุขในสิ่งที่ทำ ผลลัพธ์ย่อมดีตาม

แน่นอน ทว่า หากไร้ซึ่งความสุขผลลัพธ์ย่อมออกมาตรงกันข้ามครับ ดังนั้น ผู้นำควรหมั่นสังเกตซึ่งที่ลูกน้องทำ

และวิเคราะห์งานให้ออก มอบหมายงานให้ถูกคนจริตของคน โดยใช้หลักการ DISC  ซึ่งเป็นหลักการอ่านใจคน

ย่อมช่วยได้แน่นอนครับ

 

6.รู้จักสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานร่วมกัน

ความสุขเกิดขึ้นได้ ถ้ามีบรรยากาศที่ดีในห้องทำงาน ซึ่งผู้นำควรหมั่นสร้างวัฒนธรรมในแผนกให้เกิดความ

ปรองดอง รักใคร่กลมเกลียว ไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกในที่ทำงาน โดยผู้นำก็ต้องรู้จักสื่อสารกับทุก ๆ คนอย่าง

ท่าเทียง ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง โดยอาจสร้างกิจกรรมภายในเพื่อสร้างสรรค์บรรยากาศให้สนุกในการทำงาน

ปราศจากอารมณ์เชิงลบในที่ทำงาน ย่อมทำให้เกิดสุขภาพจิตที่ดี เบิกบาน อยากมาทำงานในทุก ๆ วัน

หรือหากวันไหนงานติดพันไม่เสร็จ ก็สามารถอยู่ช่วยเหลือกันได้อย่างเสร็จสมบูรณ์

 

7.รู้จักกระตุ้น สร้างแรงบันดาลใจต่อลูกน้อง

การทำงานย่อมต้องมีการประเมินติดตามผลของการทำงาน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ทว่า ผู้นำหลายๆ คน

กลับไม่กล้าให้ Feedback ต่อลูกน้อง เพราะกลัวลูกน้องจะไม่รักไม่ชอบ โดยเฉพาะหากผลงานของลูกน้องท่านนั้น

ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ผู้นำต้องเปลี่ยนความคิดก่อน โดยมองเรื่องของงานเป็นหลัก ใครทำดีชื่นชม สร้างความ

ท้าทายในงานที่ทำ ส่วนใครทำงานผิดพลาดบ่อย ๆ ก็ต้องเรียกมาคุยเป็นการส่วนตัว และให้คำชี้แนะ สอนงานใน

สิ่งที่ยังผิดพลาด โดยมีความเชื่อว่า คนทุกคนถึงแม้จะเรียนรู้ไม่เท่ากัน แต่ย่อมพัฒนาได้ ถ้าเปิดใจ ซึ่งผู้นำต้องใช้

หลักจิตวิทยา กระตุ้น เน้นย้ำ สร้างแรงบันดาลใจอยู่บ่อย ๆ ย่อมทำให้ลูกน้องที่ยังผิดพลาดรู้จักปรับเปลี่ยนตนเอง

จนทำให้การทำงานดีขึ้นแน่นอนครับ

 

8.ยิ้มง่าย หัวเราะง่าย มีสัมมาคาราวะ เป็นกันเอง

การเป็นผู้นำ บางคนเป็นผู้นำจากประสบการณ์ที่ทำงานมานาน บางคนเป็นผู้นำเพราะมีความเก่งในงาน ซึ่งการ

เป็นผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใด ๆ ก็ตาม แต่สิ่งที่สำคัญของการเป็นผู้นำ นั่นคือ การให้เกียรติทุก ๆ คนที่ร่วมกัน

ไม่ว่าจะเป็นทีมตัวเอง และรวมถึงทีมอื่น ๆ ที่ต้องประสานงานกัน ดังนั้น การมีสัมมาคาราวะต่อคนอื่นนับเป็นสิ่งที่

สำคัญ และถือว่าเป็นแบบอย่างที่ดีให้ผู้ตามปฏิบัติตาม โดยเฉพาะการรู้จักทักทายผู้อื่นผ่าน การยกมือไหว้คนที่

อาวุโสกว่า การยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่บึ้งตึงต่อคนรอบข้าง สิ่งเหล่านี้ย่อมทำให้การประสานงานเป็นไปอย่างราบรื่นครับ

 

9.รู้จักให้เกียรติไปร่วมงานส่วนตัวของลูกน้องบ้าง

การเป็นผู้นำ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินในการเลี้ยงดูลูกน้องในแต่ละวัน แต่ก็ควรมีน้ำใจต่อลูกน้องหากเป็นงานส่วนตัว

ที่ลูกน้องเรียนเชิญให้เกียรติไปร่วมงาน เช่น การบวช งานแต่ง งานศพ เป็นต้น ซึ่งในฐานะผู้นำก็ควรให้

ความสำคัญเพื่อแสดงความมีน้ำใจต่อลูกน้อง เพราะการให้ ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เมื่อให้ก่อน ย่อมมีโอกาสได้รับ

สิ่งดี ๆ อยู่เสมอครับ

 

10.พัฒนาตนเองอยู่เสมอ ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว

การสอนคนอื่นเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายครับ โดยเฉพาะการสอนคนอื่นโดยปราศจากการกระทำเพื่อเป็นแบบอย่างให้

ลูกน้องเห็นในทุก ๆ วัน ซึ่งคนที่เป็นผู้นำควรใช้หลักการสื่อสารที่ประกอบไปด้วย 3 ส่วนนั่นคือ

  • การกระทำ = 55 %
  • น้ำเสียง 38 %
  • คำพูด 7 %

ในการพัฒนาตนเองก่อนพัฒนาลูกน้อง เพราะหากเราสนใจที่ลูกน้องก่อน ลูกน้องย่อมขาดความเชื่อถือจากสิ่งที่

เราทำ ทว่า หากเราทำให้เห็นเป็นตัวอย่างในทุก ๆ วัน ทั้งเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว

 ย่อมสามารถเปลี่ยนแปลงความคิดของลูกน้องได้อย่างง่ายดาย

เช่น หากอยากสอนให้ลูกน้องมาเช้า ตรงต่อเวลา หรือมาก่อนเวลาอย่างน้อย 30 นาที

ผู้นำก็ควรทำให้ลูกน้องเห็นจนชินตา แบบนี้การสอนย่อมเป็นเรื่องง่ายและไม่ต้องพูดเยอะ ใช้การกระทำเป็นสื่อใน

การสอน แต่จะใช้การกระทำอย่างเดียวก็คงไม่ได้นะครับ ควรต้องบอกผ่านคำพูดด้วยน้ำเสียงที่ดี เป็นกันเอง

เพื่อเป็นการเน้นย้ำ เตือนสติกันบ้าง เพราะคนส่วนใหญ่ต้องมีการกระตุ้นในช่วงแรกจนเกิดการเปลี่ยนแปลง

ดังนั้นหน้าที่การกระตุ้น ก็คงไม่พ้นผู้นำที่ต้องแสดงให้ดูในทุก ๆ วันครับ

 

การเป็นผู้นำทีมีภาวะผู้นำ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป หากเราเปิดใจ ใช้ใจก่อนอำนาจ รับฟังเสียงของทุก ๆ คน

และพร้อมเป็นตัวอย่างที่ดีในทุก ๆ เรื่อง ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว เพื่อเปลี่ยนแปลงแนวคิดให้เป็นบวก

ในการพัฒนาตนเอง พัฒนาการทำงาน และสร้างวิสัยทัศน์ของการเป็นผู้นำ แบบนี้ย่อมได้ใจลูกน้องให้เชื่อชอบ

และทำตามแน่นอนครับ

เชื่อผมเถอะ ++

 

ท่านสามารถติดตาม Dr.fish ได้ทาง Line แล้วตั้งแต่วันนี้ โดยทำตามขั้นตอน คือ

1.ค้นหา ID : Dr.fish กรุณากดลิงก์ด้านล่าง หรือค้นหา ID "@dr.fish" ที่ LINE หรือ LINE@ 

(กรุณาใส่ "@" ด้วย) แล้วเพิ่มเป็นเพื่อนของคุณ

 2. คลิก Link http://line.me/ti/p/%40dr.fish

 

ประโยชน์ที่จะได้รับในการเป็นเพื่อนกับ dr.fish คือ

1.ได้รับข้อมูลการพัฒนาตนเองที่เป็นประโยชน์ วิธีคิดในเชิงบวก ทุกเช้า 7.30 น.ทุกวัน

2. สามารถปรึกษาการทำงาน วิธีคิดได้ตลอดเวลา ไม่ต้องเกรงใจครับ ยินดีมาก ๆ ครับ

 

คิดบวก คิดถึง Dr.fish

เขียนโดย อ.มงคล กรัตะนุตถะ

วิทยากร นักคิด นักเขียน

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 815,158