3 เทคนิคสร้างวิธีคิดพิชิตเป้าหมาย

การทำงาน ย่อมต้องมีกรอบในการเดิน และการสร้างกรอบในการเดินได้อย่างถูกทิศถูกทางนั้น
จำเป็นมาก ๆ ที่ต้องมี เป้าหมาย เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

คนหลายคนประสบความสำเร็จ เพราะมีเป้าหมาย เป็นกรอบ
แต่ก็มีอีกหลายคนที่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะขาดเป้าหมายในการเดิน

ในบทนี้เรามาทำความรู้จัก กับคำว่า "เป้าหมาย" กันครับ 
ว่าแท้จริงการคิดโดยมีเป้าหมายเป็นกรอบนั้น ควรคิดอย่างไร

สำหรับตัวผมเอง ผมมีกรอบในการตั้งเป้าหมาย อยู่ 3 ข้อหลัก ๆ นั่นคือ

  • เป้าหมายต้องชัดเจน
  • เป้าหมายต้องวัดได้
  • เป้าหมายต้องท้าทาย


มาดูความหมายกันทีละข้อครับ

1.เป้าหมายต้องชัดเจน

ข้อนี้สำคัญมาก ๆ ครับ เพราะการกำหนดเป้าหมาย เท่ากับ 
เรากำหนดปลายทางแห่งความสำเร็จไว้แล้ว
สิ่งที่สำคัญ คือ คุณต้องกำหนดเป้าหมายให้เฉพาะเจาะจง สามารถบอกปลายทางได้ครับ 
ไม่ใช่ว่า สะเปะสะปะ มึน ๆ งง ๆ ยกตัวอย่าง หากผมพูดคำว่า ผมอยากรวย
คิดว่าเป็นเป้าหมายนี้ชัดเจนไหมครับ ติ๊กต๊อก ๆๆๆๆ  ให้เวลาคิดสัก 1 นาที ก่อนหาคำตอบ

คำตอบ ของผม คือ ไม่ชัดเจนครับ เพราะคำว่าอยากรวยมันค่อนข้างกว้าง ไม่เฉพาะเจาะจง
อย่าลืมว่า รวยแต่ละคนไม่เท่ากัน ดังนั้นหากอยากให้ชัดเจนมากขึ้น
ควรพูดว่า ฉันต้องมีเงินสดในบัญชีธนาคารหลังวัยเกษียณตอนอายุ 60 ปี จำนวน 5 ล้านบาท
แบบนี้จะชัดมากขึ้น เพราะปลายทางเราย่อมรู้ว่า ต้องหาเงิน 5 ล้านบาทให้ได้
หรือบางคนมีเป้าหมายอยากมีบ้าน 1 หลัง ก็ควรเฉพาะเจาะจง ว่าบ้านแบบไหน
ราคาเท่าไหร่ อยู่ย่านไหน เพื่อสร้างภาพในหัวของเราให้ชัดเจน ในการลงมือทำ

 

2.เป้าหมายต้องวัดได้

ข้อนี้ต่อเนื่องมาจาก ชัดเจน นั่นคือ เมื่อเรารู้ว่าเรามีเป้าหมายที่เป็นกรอบค่อนข้างจะใหญ่แล้ว
ต้องรู้จักแบ่งย่อยเป้าหมายนั้นให้เล็กลง และกำหนดวันในการลงมือทำ

เช่น ฉันต้องมีเงินสดในบัญชีธนาคารหลังวัยเกษียณตอนอายุ 60 ปี จำนวน 5 ล้านบาท

สำรวจตนเองปรากฏว่า ตอนนี้อายุ 30 ปี แล้ว มีเวลาสร้างเงินเหลือเพียง 30 ปี
และทรัพย์สินเรามีเพียง 100,000 บาทเท่านั้น
ก็จำเป็นต้องมานั่งคิดวางแผน จะทำอย่างไร กับกรอบเวลาที่เหลืออีก 30 ปี
เพื่อจะได้หาวิธีการสร้างทรัพย์สินให้ไปถึงปลายทางตอนอายุ 60 ปี กับเงินสดในบัญชีธนาคาร 5 ล้านบาท

ดังนั้นต้องรู้จักวางแผนในการเก็บเงิน หรือ การลงทุน เพื่อให้เงินงอกเงย
โดยอาจลองเขียนแผนออกมาเป็นรายเดือน หรือรายปี 
เพื่อวัดแผนนั้นว่าสามารถทำได้ หรือ ติดขัดสิ่งใดบ้าง
ในการปรับปรุงหากแผนนั้นไม่ได้ตามที่ตั้งใจ หรือ พัฒนาต่อไปหากแผนนั้นไปได้ดี

โดยส่วนใหญ่ การวางแผนจะแบ่งอยู่ประมาณ 3 ระยะ ครับ คือ

  • ระยะสั้น 1 ปี ไล่ลงมาเป็นรายเดือน รายสัปดาห์ และ รายวัน
  • ระยะกลาง 2-5 ปี
  • ระยะยาว ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

 

ดังนั้นหากเราอยากทำสิ่งใด ต้องมีกรอบในการวัด เพื่อวัดว่าแผนนั้นทำได้ หรือ ไม่ได้
ถ้าได้ พัฒนาต่อไป ถ้าไม่ได้ หากทางใหม่ครับ สู้ ๆ

 

3.เป้าหมายต้องท้าทาย

หลายคนตั้งเป้าหมายที่ใหญ่จนเกินไป หรือ ง่ายจนไม่เกิดการพัฒนาตนเอง
ผมอยากแนะนำว่า

การตั้งเป้าหมายที่ดี นั้น ต้องทำแล้วสนุก ไม่เครียด ไม่กดดันตนเองมากเกินไป

เพราะหากเป้าหมายนั้นกดดัน จะทำให้เกิดโอกาสท้อกับสิ่งที่ทำ 
สุดท้ายจะเริ่มหยุดในการทำเป้าหมายนั้น
แต่หากเป้าหมายที่ทำง่ายจนสามารถทำได้แบบชิว ๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการเบื่อได้ง่าย ๆ

วิธีที่ดีที่สุดสำหรับแนวคิดผม คือ ทางสายกลางครับ หรือ ความพอดีในสิ่งที่ทำ

ผมว่าหลักพุทธศาสนา หากเราเข้าใจและนำไปปฏิบัติ
เราจะมีความสุขในสิ่งที่ทำครับ ไม่ทำอะไรที่เกินตัวจนทำไม่ได้ และ ไม่ง่ายจนขาดการพัฒนาตนเอง

ดังนั้น เมื่อมีเป้าหมายอะไร ลองประเมินตนเองก่อนทำครับ 
และสิ่งที่จะทำให้เป้าหมายสำเร็จได้ นั่นคือ

การลงมือทำ ในทุก ๆ วันที่เราวางแผนย่อยเป้าหมายนั้นออกมา
เพราะต่อให้คิด วางแผน สร้างกรอบในหัวจนชัดเจนแต่ไม่ลงมือทำ ย่อมสูญเปล่า

จงลงมือทำ ไม่มีใครสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรก 

แต่หากเรามีความมุ่งมั่น อดทน มีวินัย ไม่ท้อถอยต่อปัญหาและอุปสรรค
ผมเชื่อว่า เป้าหมายนั้นเป็นจริงได้ และสิ่งที่เราได้เพิ่มระหว่างที่เราเดินไปสู่เป้าหมาย นั่นคือ
ประสบการณ์ ที่ไม่ได้เกิดจากการคิด แต่เกิดจากการลงมือทำ ยิ่งประสบการณ์เยอะ
เราจะยิ่งรอบคอบ และมีมุมคิดที่โตมากขึ้น  ลองดูนะครับ   

เชื่อผมเถอะ !!

 

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ เคล็ดวิชา Positive Thinking for life 

 

ท่านสามารถติดตาม Dr.fish ได้ทาง Line แล้วตั้งแต่วันนี้ โดยทำตามขั้นตอน คือ

1.ค้นหา ID : Dr.fish กรุณากดลิงก์ด้านล่าง หรือค้นหา ID "@dr.fish" ที่ LINE หรือ LINE@ 
(กรุณาใส่ "@" ด้วย) แล้วเพิ่มเป็นเพื่อนของคุณ

2. คลิก Link http://line.me/ti/p/%40dr.fish

 

ประโยชน์ที่จะได้รับในการเป็นเพื่อนกับ dr.fish คือ

1.ได้รับข้อมูลการพัฒนาตนเองที่เป็นประโยชน์ วิธีคิดในเชิงบวก ทุกเช้า 7.30 น.ทุกวัน

2. สามารถปรึกษาการทำงาน วิธีคิดได้ตลอดเวลา ไม่ต้องเกรงใจครับ ยินดีมาก ๆ ครับ

 

คิดบวก คิดถึง Dr.fish

เขียนโดย อ.มงคล กรัตะนุตถะ

วิทยากร นักคิด นักเขียน

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 825,172