3 หลักคิดในการแก้ไขปัญหากับสิ่งรอบตัว

ขึ้นชื่อว่า ปัญหา หลายคนคงกระอักกระอ่วนใจ เพราะปัญหามักมาพร้อมกับความทุกข์มากกว่าความสุข

แต่หากเราไม่เจอปัญหาเลย เราย่อมขาดภูมิต้านทานที่ดีในชีวิตไปนะครับ เรื่องนี้ผมการันตี

โดนเฉพาะหากเราเจอปัญหาบ่อย ๆ เราจะเก่งมากขึ้น ประสบการณ์เราจะมากขึ้น

ทว่า หลายคนกลับคิดอีกแบบ พอเจอปัญหากลับวิ่งหนี และนั่งจมกับปัญหา

มากกว่าที่จะเรียนรู้การอยู่กับปัญหาในแต่ละวัน ในบทนี้ผมมีหลักคิดดี ๆ ที่อยากแบ่งปัน

โดยเฉพาะหลักคิดของการมองปัญหา คือ โอกาส มากกว่ามองปัญหา คือ สิ่งที่เป็นความทุกข์

อย่างที่บอกได้เกริ่นไว้ตอนต้นว่า หากเราหมั่นเรียนรู้กับปัญหาบ่อย ๆ รู้จักหาวิธีแก้ไขบ่อย ๆ

ตัวเราย่อมเก่งขึ้น และหลักคิดในการแก้ไขปัญหาที่ว่า นั่นคือ

 

1.ทุกครั้งที่เราเจอปัญหาขอให้เราคิดบวกทุกครั้ง

เพราะการคิดบวก จะทำให้ปัญหามันเล็กน้อย จนเราสามารถก้าวข้ามผ่านไปได้อย่างสบาย

การคิดบวก จะทำให้เรามีขวัญและกำลังใจที่ดีในการสู้กับปัญหาและสามารถสร้างเส้นทาง

ในการแก้ไขปัญหาได้หลายทาง มากกว่าการยึดติดเพียงด้านเดียว

ลองสร้างแนวทางการแก้ไขปัญหาหลาย ๆ ทาง และค่อย ๆ ก้าวเดินทีละก้าว

หากก้าวนั้นไม่ใช่หนทางของการแก้ไข ก็จงถอยหลังกลับมาตั้งหลักใหม่มากกว่าฝืนดันทุรังจนยากเกินเยียวยา

เพราะยังมีหนทางอีกหลายทางให้เราลองก้าวดู อีกทั้ง การก้าวทุกครั้ง สิ่งที่เราจะได้รับไม่ใช่ความล้มเหลว

แต่เป็นประสบการณ์ที่สร้างจากตัวเราเองครับ

ข้อพึงระวัง

จงอย่าคิดบวกในทุก ๆ ด้าน เพราะโลกนี้ คือ ความจริงไม่ใช่ความฝันจงกล้ายอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น

มากกว่าคิดเข้าข้างตนเองจนกลายเป็นการหลอกตนเองแบบนั้น ไม่ใช่การคิดบวกที่แท้จริงนะครับ

 

2.รู้จักวางแผน ป้องกันก่อนลงมือทำ

หากเราไม่ชอบเจอปัญหาบ่อย ๆ หนทางแรกที่ต้องคิดนั่นคือ การวางแผนทุกครั้งก่อนลงมือทำ

ซึ่งดีกว่า การลงมือทำโดยขาดการไตร่ตรอง เพราะถึงแม้จะวางแผนดีแค่ไหน โอกาสผิดพลาดก็ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ

แต่คงดีกว่า การไร้ซึ่งแผน เสมือนออกรบโดยไร้ซึ่งอาวุธในการต่อสู้ครับ แบบนี้รอแพ้อย่างเดียวแน่นอน

ข้อพึงระวัง

อย่ามัวแต่คิด วางแผน จนกลายเป็น วางแผนแล้วนิ่ง  ไม่กล้าตัดสินใจลงมือทำ

จงคิดเสมอว่า ผลลัพธ์ในสิ่งที่ทำไม่ได้เกิดจากการคิดแต่เกิดจากการทำเท่านั้น

 

3.เปิดใจขอคำแนะนำจากคนรอบข้าง

บางครั้งปัญหาก็เปรียบเสมือนผงเข้าตา จนยากจะเขี่ยออกด้วยตนเอง

ทว่ากลับต้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่นถึงจะเขี่ยผงที่ติดตาได้อย่างสะดวก

ทุกครั้งที่เราเจอปัญหา ขอให้เราคิดเสมอว่า เราไม่ได้อยู่คนเดียวบนโลกใบนี้

แต่เรายังมีเพื่อนร่วมโลกอีกมากมาย เช่น ครอบครัว เพื่อน แฟน ฯลฯ

ที่สามารถขอคำแนะนำ ปรึกษาในการแก้ไขปัญหามากกว่าเก็บปัญหาไว้ที่ตนเอง

ข้อพึงระวัง

จงกล้าเปิดใจรับฟังผู้อื่น แต่ต้องมีหลักคิดในการตัดสินใจด้วยตนเอง

การขอคำปรึกษาเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้เรามีมุมมองที่กว้างขึ้น

แต่ก็จงหนักแน่นในความคิด  ถ้าข้อมูลนั้นตรงกันข้ามก็ทำได้แค่ ขอบคุณ มากกว่าโต้เถียง

เพราะการทำ หรือ ไม่ทำ เราต้องตัดสินใจเอง ลองทำทีละเรื่องเราจะรู้เองว่า ควรเดินต่อไปอย่างไร

 

บทสรุป

อย่ากลัวกลับปัญหาที่เจอ ยิ่งเจอปัญหาเรายิ่งเก่งขึ้นและต้องเชื่อเสมอว่า ทุกปัญหามีทางออก

ช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของเรา เพราะหากเราเจอปัญหาบ่อย ๆ  ประสบการณ์ของเรา

จะช่วยทำให้ปัญหามันเล็กลงจนแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ทว่า หากไม่เคยเจอปัญหานั้น ๆ มาก่อน

จงเชื่อก่อนครับว่ามันแก้ไขได้ และค่อย ๆ ใช้หลักคิด 3 ข้อที่ผมแนะนำไป ลองนำมาแก้ไขปัญหาดู

ผมเชื่อว่า ทุกปัญหามีทางออกครับ แล้วคุณผู้อ่านละ เชื่ออย่างไร ?

เมื่อเรามีหลักคิดที่ดี เป็นการคิดเชิงบวกแล้วนั้น เราต้องนำหลักคิดนั้นมาวิเคราะห์ในเชิงระบบ

เพื่อหาสาเหตุหรือ ต้นตอของปัญหา เพราะหากเราแก้ไขปัญหาได้ถูกจุด ไม่แก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ

ปัญหานั้นย่อมหมดไปได้โดยเร็วครับ เรามาดูวิธีการแก้ไขปัญหาในเชิงระบบกัน คือ

กระบวนการวิเคราะห์ปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบและมีเหตุผล

1. ระบุปัญหาให้ถูกต้อง ชัดเจน

2. รวบรวมและบริหารข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง

3. วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา

4. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการแก้ไข

5. สร้างทางเลือก/วิธีการในการแก้ปัญหา

6. ประเมิน/เปรียบเทียบทางเลือก

7. ตัดสินใจเลือกทางเลือกอย่างมีเหตุผล

8. ปฏิบัติตามทางเลือก

9. ติดตามและประเมินผลการใช้ทางเลือก

 

สรุป ขั้นตอนการแก้ไขปัญหา ( อย่างง่าย )

 

1.การยอมรับถึงปัญหา

สิ่งสำคัญอันดับแรกในการจะแก้ปัญหาให้ได้ผลนั้น คือ “การยอมรับว่าปัญหาว่าเป็นปัญหา”

งง มั้ย หาก งง อ่านใหม่   หากยังไม่เข้าใจอีกให้อ่านใหม่อีก สำคัญนะข้อนี้

 

2.กำจัดขอบเขตของปัญหา

คือการหาให้เจอว่าปัญหานั้นคืออะไร มีมากน้อยขนาดไหน เป็นปัญหาเล็ก ปัญหาใหญ่ เกิดบ่อยหรือนานๆเกิดที

ปัญหาเล็กปัญหาใหญ่มีวิธีการแก้ไม่เหมือนกัน

 

3.กำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหา

การมองหาทางออก วิธีที่จะใช้ในการแก้ปัญหา มีหลากหลาย บางวิธีแก้ระยะสั้น บางวิธีเป็นการแก้ระยะยาว

อย่ายึดติดทางออกเพียงทางเดียวครับ

 

4.การลงมือทำตามแผน

ลงมือทำตามแผนที่วางไว้ เพราะการลงมือทำ ย่อมทำให้เราเรียนรู้ และเข้าใจว่าสิ่งที่คิด สิ่งที่วางแผนมานั้น

สามารถนำไปแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ หากใช้ได้จริงถือว่าสิ่งที่คิดใช้ได้ ทว่า หากแก้ไขไม่ได้ ก็แค่ยอมรับ

อย่างน้อยก็ได้รับประสบการณ์ติดตัว และทำให้รู้ว่า หากเกิดปัญหานี้อีกครั้ง ทางที่เคยพลาดจะทำให้รู้ว่า

ไม่ควรไปต่อในอนาคตครับ

 

5.การติดตาม

การติดตามผลตอบรับและผลลัพธ์ที่ได้จากการแก้ไขปัญหาเป็นเรื่องสำคัญ

บางปัญหามีผลกระทบจากวิธีการแก้ มีปัญหาบานปลาย มีปัญหาข้างเคียง เพื่อหาทางเลือกอื่นๆในการแก้ปัญหาได้ตรงจุด

 

ผู้เขียน มงคล กรัตะนุตถะ

วิทยากร นักเขียน ที่ปรึกษา กรรมการบริหาร บริษัท ด็อกเตอร์ฟิช จำกัด

 

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 813,901