อยู่องค์กรนาน ๆ แล้วรักองค์กรจริงหรือ
การที่พนักงานอยากอยู่องค์กรนาน ๆ หากเราเป็นผู้บริหารองค์กรนั้น ๆ เราคงรู้สึกมีความสุข
เพราะตัดปัญหาการลาออกของพนักงาน อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนของการสรรหาพนักงาน
และไม่ต้องเสียเวลาในการสอนงานให้คนใหม่อยู่ตลอดเวลาครับ นั่นคือ ข้อดีครับ
ทว่า การอยู่องค์กรนาน ๆ นั้น ก็มี ข้อเสียที่ต้องประเมินให้ดี
เพราะจากประสบการณ์การทำงานด้านทรัพยากรบุคคล และการเป็นวิทยากรที่มักพบเจอปัญหาเหล่านี้
จากลูกค้าที่เป็นฝ่ายทรัพยากรบุคคลมาเล่าปัญหา เพื่อให้ผมช่วยปรับทัศนคตินั้น ส่วนใหญ่หลายองค์กร
ปัญหาแทบลอกกันมาเป็นแบบเดียวกันเลยครับ นั่นคือ
- ยึดติดกับสิ่งเดิม ๆ
- กลัวการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา
- ไม่เปิดใจรับฟังสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
ซึ่งเรามาดูปัญหา 3 ข้อกันครับ
1.ยึดติดกับสิ่งเดิม ๆ
ปัญหานี้มักเกิดจากสนิมเกราะครับ คือ ทำสิ่งเดิม ๆ มาตั้งแต่อดีต ไม่สามารถทำสิ่งใหม่ ๆ ได้
เพราะเกิดความเคยชิน และกลัวว่า ถ้าต้องทำสิ่งใหม่ ๆ จะทำให้เสียเวลาในการเรียนรู้
และกลัวความผิดพลาดที่อาจจะทำให้เสียชื่อเสียง
เช่น ในอดีตถนัดกับการเขียนด้วยมือ แต่ปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ในการบันทึกข้อมูล
แต่ไม่ขอใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเสียเวลาในการเรียนรู้ และชอบทำแบบเดิม ๆ จนเคยตัว
2.กลัวการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา
ข้อนี้ ก็เชื่อมโยงมาจากข้อที่ 1 เพราะเมื่อใดที่เกิดการยึดติด ย่อมตามมาในเรื่องกลัวการเปลี่ยนแปลง
และโดยเฉพาะ คนที่ชอบยึดติดหัวโขน หวงเก้าอี้ของตัวเอง หากวันใดที่โดนโยกย้ายก็ย่อมเกิดอาการกังวล
และทำให้เกิดปัญหาหากคน ๆ นั้นเป็นคนเก่าคนแก่ และสามารถเดินเข้าหาห้องทำงานของคนที่มีอำนาจสูงสุดได้
ทำให้การบริหารงาน อาจทำให้คนรุ่นใหม่ท้อแท้ เพราะขาดโอกาสในการเติบโต
และหากคนรุ่นใหม่เป็นคนมีความสามารถ ย่อมเกิดอาการสมองไหลได้เช่นกันครับ
3. ไม่เปิดใจรับฟังสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
คนที่ทำงานในองค์กร ส่วนใหญ่มักจะเป็น Generation Baby Boomer และ GenerationX
ที่ทำงานมานาน มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญสูง แต่หากใช้ในทางที่ผิด นั่นคือ ไม่เปิดใจรับฟังเสียงรอบข้าง
ก็ย่อมทำให้งานนั้นสะดุดลงได้ โดยเฉพาะ Generation Y ที่อาจทำงานรวดเร็ว ไปเร็ว มาเร็ว
พวก Gen Y มักชอบทำงานโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ นอกกรอบ
แต่ Gen B และ Gen X กับชอบทำงานตามขั้นตอน
หากทั้ง 3 Gen ไม่เปิดใจคุยกัน งานย่อมสะดุดได้ครับ
เมื่อเราเห็นปัญหาของคนที่อยู่ในองค์กรมานาน ซึ่งมักจะเป็นทุกองค์กร
ในฐานะเราเป็นนักบริหารทรัพยากรบุคคล เราต้องหาทางแก้ไข เพราะหากปล่อยไว้นาน
ย่อมทำงานให้งานสะดุด อีกทั้งปัญหาความรักความผูกพัน สามัคคีย่อมยากที่จะประสานได้
ดังนั้น เรามาสร้างวิธีแก้ไขกัน นั่นคือ
ปรับทัศนคติโดยใช้การอบรม และทำกิจกรรมร่วมกันในทุกฝ่าย
เพื่อชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงสิ่ง ๆ ต่าง ๆ ทั้งด้าน วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายขององค์กร
ด้านเทคโนโลยีใหม่ องค์กรความรู้ใหม่ ๆ ในการเติบโตไปข้างหน้า
และชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจที่มีการแข่งขันกันเข้มข้นจากภายนอก
เพราะหากเราไม่ช่วยกันสร้างผลงานให้มีคุณภาพ องค์กรย่อมอยู่ลำบากในการแข่งขัน
แต่การปรับทัศนคติโดยใช้การอบรม อาจไม่ได้ผลลัพธ์ 100 % เพราะเป็นเรื่องปัจเจกบุคคล
และบางคนอาจไม่ยอมปรับเปลี่ยนตนเอง แต่ผมเชื่อว่า หากให้วิธีคิดที่ดีเป็นพื้นฐานในการนำไปพัฒนาตนเอง
ใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในการสร้างการแก้ไข ชี้ให้เห็นประเด็นที่เป็นความจริง
ย่อมดีกว่าไม่ทำอะไรเลย และปล่อยให้ปัญหานั้นมันยากเกินจะแก้ไขนะครับ
อีกทั้ง หากคนเหล่านี้เขาเริ่มมีความเข้าใจ มีการปรับเปลี่ยนตนเองในทางที่ดีขึ้น
องค์กรย่อมได้ประโยชน์จากประสบการณ์ของคนเหล่านี้มาต่อยอด
ไปถึงคนรุ่นถัดไปนั่นคือ Gen Y ที่จะได้รับสิ่งดี ๆ ประสบการณ์ดี ๆ จาก Gen B และ Gen X
ในการสร้างผลงานอย่างคุ้มค่าครับ เชื่อผมเถอะ !!
ปัญหาเรื่อง “คน” นับเป็นอีกงานที่ท้าทายของนักบริหารทรัพยากรบุคคล
ที่ต้องช่วยกันขจัดปัดเป่าปัญหาเหล่านั้นให้ลดน้อยลง
เพราะหากเรามีเครื่องมือในด้านบริหารทรัพยากรบุคคลเยอะแยะมากมาย
แต่วิธีคิด ของคนกลับยังเป็น วิธีคิดแบบลบ ๆ ต่อคนรอบข้าง ก็ยากเช่นกันในการพัฒนาองค์กร
สถาบัน Dr.fish เราเข้าใจท่าน และพรัอมที่จะเป็นเพื่อนคู่คิดท่านในการสร้างวิธีคิดที่ดี
ด้วยทัศนคติให้เป็นบวกต่อตนเอง และคนรอบข้างในการทำงานร่วมกัน
ท่านสามารถติดตาม Dr.fish ได้ทาง Line แล้วตั้งแต่วันนี้ โดยทำตามขั้นตอน คือ
1.ค้นหา ID : Dr.fish กรุณากดลิงก์ด้านล่าง หรือค้นหา ID "@dr.fish" ที่ LINE หรือ LINE@
(กรุณาใส่ "@" ด้วย) แล้วเพิ่มเป็นเพื่อนของคุณ
2. คลิก Link http://line.me/ti/p/%40dr.fish
ประโยชน์ที่จะได้รับในการเป็นเพื่อนกับ dr.fish คือ
1.ได้รับข้อมูลการพัฒนาตนเองที่เป็นประโยชน์ วิธีคิดในเชิงบวก ทุกเช้า 7.30 น.ทุกวัน
2. สามารถปรึกษาการทำงาน วิธีคิดได้ตลอดเวลา ไม่ต้องเกรงใจครับ ยินดีมาก ๆ ครับ
คิดบวก คิดถึง Dr.fish
เขียนโดย อ.มงคล กรัตะนุตถะ
วิทยากร นักคิด นักเขียน